ความหมายภาษาพูดและภาษาเขียน


ภาษาพูดและภาษาเขียน                
            ภาษาพูด บางทีเรียกว่า ภาษาปาก หรือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม เช่น ภาษากลุ่มวัยรุ่น ภาษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ภาษาพูดไม่เคร่งครัดในหลักภาษาบางครั้งฟังแล้วไม่สุภาพมักใช้พูดระหว่างผู้สนิทสนม หรือผู้ได้รับการศึกษาต่ำ ในภาษาเขียนบันเทิงคดีหรือเรื่องสั้น ผู้แต่งนำภาษาปากไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครเพื่อความเหมาะสมกับฐานะตัวละคร 
  
           ภาษาเขียน มีลักษณะเคร่งครัดในหลักภาษา มีทั้งระดับเคร่งครัดมาก เรียกว่า ภาษาแบบแผน เช่น การเขียนภาษาเป็นทางการดังกล่าวในข้อ 1.1 ระดับเคร่งครัดไม่มากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ ดังกล่าวในข้อ 1..2 ในวรรณกรรมมีการใช้ภาษาเขียน 3 แบบ คือ ภาษาเขียนแบบจินตนาการ เช่น ภาษาการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นต้น ภาษาเขียนแบบแสดงข้อเท็จจริง เช่น การเขียนบทความ สารคดี เป็นต้น และภาษาเขียนแบบประชาสัมพันธ์ เช่น การเขียนคำโฆษณา หรือคำขวัญ เป็นต้น 


ตัวอย่างเปรียบเทียบภาษาพูดและภาษาเขียน 
1) ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย มีการเปลี่ยนแปลงคำพูดอยู่เสมอ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน 

วัยโจ๋ วัยรุ่น 

เจ๋ง เยี่ยมมาก 

แห้ว ผิดหวัง 

เดี้ยง พลาดและเจ็บ ตัว 

มั่วนิ่ม ทำไม่จริงจังและปิดบัง 


2) ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ เป็นภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย แต่ภาษาเขียนมักใช้ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต เป็นภาษาแบบแผน หรือกึ่งแบบแผน เช่น 

ภาษาพูด ภาษาเขียน 

ในหลวง พระมหากษัตริย์ 

ผัวเมีย สามีภรรยา 

เมียน้อย อนุภรรยา 

ค่อยยังชั่ว อาการดีขึ้น อาการทุเลาขึ้น 

ดาราหนัง ดาราภาพยนตร์ 

วัวควาย โคกระบือ 

ปอดลอย หวาดกลัว 

โดนสวด ถูกด่า 

ตีนเปล่า เท้าเปล่า  

3) ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียงสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง แต่ภาษาเขียนคงเคร่งครัดตามรูปคำเดิม เช่น 
ภาษาพูด ภาษาเขียน 
เริ่ด เลิศ 
เพ่ พี่ 


4) ภาษาพูด ยืมคำภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ และมักตัดคำให้สั้นลง รวมทั้งภาษาจีน เป็นต้น ภาเขียนใช้คำแปลภาษาไทยหรือทับศัพท์ เช่น 
ภาษาพูด:ภาษาเขียน 
เว่อร์ (over): เกินควร เกินกำหนด 
แอ๊บ (abnomal): ผิดปกติ 
จอย (enjoy): สนุก เพลิดเพลิน       

ความคิดเห็น